แต่ละแบบก็มีข้อดีหรือข้อด้อยแตกต่างกันออกไป เรามาดูตารางเปรียบเทียบด้านล่างระหว่าง Analog (เข็ม) และ Digital (ตัวเลข) เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับความต้องการและการใช้งาน
ประเภท | ดิจิตอล (ตัวเลข) | อนาล็อก (เข็ม) |
---|---|---|
ความแม่นยำ (Accuracy) | การประมวลผลแบบไมโครโปรเซสเซอร์จึงทำให้มีความแม่นยำมากว่าแบบเข็ม โดยทั่วไป Accuracy ของ Active Energy คือ Class 0.5s ตาม IEC 62053-22 | หลักการของสนามแม่เหล็กไปขับกลไกทางแมคคานิคที่อยู่ภายในตัวมิเตอร์ ดังนั้นหากใช้งานไประยะเวลาหนึ่งค่าความแม่นยำก็จะลดลงเรื่อยๆเนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเช่น ฝุ่นละออง ความชื้น หรืออุณหภูมิ เป็นต้น |
การอ่านค่า | การแสดงผลนั้นค่าจะออกมาเป็นตัวเลข จึงทำให้การอ่านค่านั้นสะดวกและง่ายดาย | เนื่องจากใช้เข็มในการแสดงผลจึงอาจเกิดความผิดพลาดในการอ่านค่าเพราะการมองหรือการประมาณค่าของแต่ละคนต่างกัน |
การสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ | สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ มือถือได้โดยตรง จากซอฟแวร์ทั้ง Windows, iOS, Android | มี่เฉพาะบางรุ่น บางยี่ห้อ เช่น KYORITSU รุ่น KEW 3441BT |
การเก็บค่าและการดูข้อมูลย้อนหลัง | มีหน่วยความจำ สามารถเก็บค่าพารามิเตอร์ได้ เพื่อใช้ในการดูข้อมูลย้อนหลังได้ | ไม่มีหน่วยความจำใดๆเลย |
จากตารางเปรียบเทียบนะครับถ้าให้สรุปง่ายๆก็คือ ถ้าอยากอ่านค่าของการวัดง่ายและสะดวกก็เลือกเป็นแบบดิจิตอลหรือตัวเลข แต่ถ้าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณทางไฟฟ้าไม่ว่ากระแสหรือความแรงดัน เราก็เลือกเป็นแบบเข็มครับ แต่ถ้าจะบอกว่า อยากได้แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย เดิมทีก็มีแต่รุ่นตัวเลขหรือดิจิตอลนะครับที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้แต่ปัจจุบันนี้มีมิเตอร์แบบเข็มบางรุ่นบางยี่ห้อที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ครับโดยผ่านระบบ Bluetooth หรือ Download Application ผ่านโทรศัพท์มือถือไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือระบบ iOS เราก็สามารถดูค่าต่างๆของการวัดของมิเตอร์เข็มได้ครับ เช่น KYORITSU รุ่น KEW 3441BT