แคล้มป์มิเตอร์ แคล้มป์ออนมิเตอร์ หรือคลิปแอมป์ เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า (Current Measurement) ที่ไหลในวงจร โดยที่เราไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราจะทำการวัด ทำให้การวัดค่ากระแสไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างอย่างรวดเร็ว และแม่นยำ โดย แคล้มป์มิเตอร์ จะมีส่วนคล้ายกับก้ามปู หรือหยดน้ำ เพื่อใช้คล้องกับสายไฟ
ประเภทของแคล้มป์มิเตอร์แยกตามหลักการได้ดังนี้คือ
A : แบบวิธี CT (Current Transformer)
แคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสโดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลแล้วแปลงผลลัพธ์เพื่อให้ได้ค่ากระแสออกมา
การออกแบบ : | ขดลวดพันรอบแกนแม่เหล็ก |
หลักการ : | มีหม้อแปลงหรือ CT (Current Transformer) และมีขดลวดหนึ่งเส้น (ลวดพันรอบๆ CT ที่ใช้ทำแคล้มป์) โดยปลายด้านที่สองของขดลวดจะพันตามจำนวนรอบที่คำนวณได้จากการออกแบบ (ลวดพันรอบแกนแม่เหล็ก) |
ข้อดี : | การวัดเป็นเชิงเส้น (Linearity) และแบบย่านกว้าง |
ข้อเสีย : | ไม่สามารถตรวจจับหรือวัดไฟฟ้ากระแสตรงได้ |
ตัวอย่างของแคล้มป์มิเตอร์ ที่ใช้หลักการนี้ เช่น
- แคล้มป์มิเตอร์แบบเข็ม (Analog AC Clamp Meter) ใครที่ชอบแนวคลาสสิค ต้องรุ่นนี้ ครับ
2. แคล้มป์มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital AC Clamp Meter) รุ่นนี้สุดเจ๋งสามารถวัดค่า Peak Hold ได้ทั้ง AC Amp. / AC Voltage และ DC Voltage ครับ และยังวัดค่าได้ละเอียด ทศนิยม 2 ตำแหน่ง แถมราคาไม่แพงอีกด้วย
3. แคล้มป์มิเตอร์วัดค่ากระแสรั่วไหล (Leakage Current Clamp Meter) หลายท่านสงสัยว่า ถ้าซื้อแคล้มป์มิเตอร์วัดค่ากระแสรั่วไหลมาแล้ว ถ้าจะเอาไปวัดกระแสโหลดธรรมดาได้ไหม คำตอบคือแล้วแต่รุ่นครับ แต่ของ Kyoritsu จะสามารถทำได้ทุกรุ่นครับ
4. แคล้มป์มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า (AC Power Clamp Meter) แคล้มป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว วัดค่าแรงดันไฟฟ้า พร้อมกันด้วย สิ่งที่ได้ตามมาคือ กำลังไฟฟ้า ที่วัดเป็นกิโลวัตต์ ครับผม… ตัวอย่างด้านล่างนี้ เป็นตามลักษณะดังกล่าวไว้คือ ที่สามารถวัดกำลังไฟฟ้าออกมาได้ครับ
B : แบบวิธี Hall Effect Current Sensor
แคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสโดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลแล้วแปลงผลลัพธ์เพื่อให้ได้ค่ากระแสออกมา
การออกแบบ : | Hall ฝังอยู่ในแกนแม่เหล็ก |
หลักการ : | สนามแม่เหล็กที่เกิดจากลวดรอบๆ ที่ใช้แคล้มป์แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าผ่าน Hall และแรงดันไฟฟ้าจะถูกแปลงเป็นกระแส |
ข้อดี : | สามารถวัดทั้งไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ |
ข้อเสีย : | ราคาสูงกว่าแบบ CT |
ตัวอย่างของแคล้มป์มิเตอร์ ที่ใช้หลักการนี้ เช่น
5. แคล้มป์มิเตอร์ AC/DC แบบดิจิตอล (Digital AC/DC Clamp Meter)
แคล้มป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า ขนาดเล็ก
แคล้มป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้า รุ่นยอดนิยม
6. แคล้มป์มิเตอร์ AC/DC แบบ RMS (Digital AC/DC Clamp Meter RMS) แคล้มป์มิเตอร์ตัวท็อป ฟูลฟังก์ชั่น วัดค่าต่างๆได้อย่างมากมาย
7. แคล้มป์มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital AC Clamp Meter / Fork Current Tester) รุ่นนี้มีปลายโพร๊บที่จะใช้วัดกระแส เป็นลักษณะคล้ายส้อม จึงเหมาะกับพื้นที่แคบ เป็นอย่างมาก
8. แคล้มป์+มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital AC/ DC Fork Clamp+Multi meter) รุ่นนี้มีปลายโพร๊บที่จะใช้วัดกระแส เป็นลักษณะคล้ายส้อม ที่เหมาะกับพื้นที่แคบแล้ว ตัวเครื่องยังเป็นมัลติมิเตอร์ ในตัวด้วยครับ แบบ 2 IN 1
9. ดีซีมิลลิแอมป์แคล้มป์มิเตอร์ (DC Milliamp Clamp Meter) รุ่นนี้เหมาะกับการวัดและตรวจสอบ อุปกรณ์เครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม เช่น 4-20 mA โดยใช้แคล้มป์คล้อง ไม่ต้องตัดต่อวงจรการวัดให้ยุ่งยาก และยังสามารถเทียบค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ด้วยครับ
C : แบบวิธี Rogowski
แคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสโดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลแล้วแปลงผลลัพธ์เพื่อให้ได้ค่ากระแสออกมา
ออกแบบ : | ขดลวด Rogowski พันรอบวัสดุที่ไม่มีแกน หรือไม่ใช่แม่เหล็ก |
หลักการ : | รูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันจะถูกส่งออกที่ปลายทั้งสองของขดลวดขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้า รูปคลื่นที่ได้จะถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณให้ได้ค่ากระแสไฟฟ้าออกมา |
ข้อดี : | ความยืดหยุ่นเนื่องจากไม่มีแกนกลางและย่านความถี่ในการวัดกว้าง |
ข้อเสีย : | วัดได้เฉพาะไฟฟ้ากระแสสลับ |
ตัวอย่างของแคล้มป์เซนเซอร์ ที่ใช้หลักการนี้ เช่น
10. Flexible Clamp Sensor รุ่นนี้เหมาะสำหรับการวัดในพื้นที่ๆก้ามปูของรุ่นปกติไม่สามารถเข้าวัดได้ และยังสามารถวัดตัวนำไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ได้อีกด้วย
ฟังก์พิเศษอื่นๆ ที่ช่วยในการวัดของแคล้มป์มิเตอร์
Non Contact Voltage ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้สายของมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้า แค่เรานำเอาตัวมิเตอร์ มาวางใกล้ๆสายไฟฟ้าหรือจุดที่เราจะทำการตรวจสอบ เพียงแค่นี้ เราทราบแล้วว่ามีแรงดันไฟฟ้า ในจุดๆนั้นหรือไม่ | |
Blue Tooth เราสามารถนำค่าการวัดต่างๆ ดูผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือได้อย่าง่ายดาย | |
Peak Hold ฟังก์ชั่นนี้ใช้ตรวจสอบกระแสไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้า ขณะสตาร์ท หรือเริ่มต้นทำการวัด | |
Backlight LED ไฟส่องสว่างหน้าจอ ทำให้สามารถอ่านค่าได้ในที่มืด | |
ฟังก์ชั่นช่วยประหยัดพลังงานหน้าจอ ขณะที่ต้องทำการวัดค่า ทิ้งไว้นานๆ | |
ฟังก์ชั่นปิดเครื่องอัติโนมัติ ถ้าเราไม่ได้ใช้เครื่อง เป็นเวลานานๆ เช่นถ้าไม่ใช้เครื่องเป็นเวลา 10 นาที |